พ่อผู้ให้กำเนิดความศิวิไลซ์แก่เมือง Nobeoka - Shitagau Noguchi7. จากเมือง Nobeoka ไปสู่คาบสมุทรเกาหลี

ในฐานะผู้ประกอบการระดับโลก Noguchi ยังคงฝากชื่อไว้ให้กับคนรุ่นหลังผ่านการพัฒนาแหล่งน้ำบนคาบสมุทรเกาหลีและการบริหารจัดการอุตสาหกรรมเคมีที่ใช้ไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นมา
ซึ่งก็คือการก่อสร้างเขื่อน Sup'ung ที่ลุ่มน้ำ Amrok และสร้างอุตสาหกรรมเคมีที่ Hungnam โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากการพัฒนาทรัพยากรน้ำของลุ่มน้ำ Changjin และลุ่มน้ำ Pujon

Noguchi ได้ตัดสินใจที่จะขยายกิจการไปยังคาบสมุทรเกาหลีในขณะที่โรงงาน Nobeoka ยังคงอยู่ระหว่างการขยายโรงงาน และเมื่อเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1925 ทีมสำรวจเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำ Pujon กำลังดำเนินการสำรวจอย่างอาจหาญที่ภูเขาสูงชันของเกาหลีเหนือซึ่งยังไม่เคยมีใครสำรวจมาก่อน นับเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก

สาเหตุที่ทำให้ Noguchi ตัดสินใจขยายกิจการไปสู่คาบสมุทรเกาหลีเนื่องมีดังต่อไปนี้
Noguchi มีความตั้งใจอย่างแรงกล้าที่จะดำเนินธุรกิจในญี่ปุ่นและสิ่งที่เขาต้องการคือพลังงานไฟฟ้าที่ถูกและมีปริมาณมากมายมหาศาลมากกว่านี้ ในเวลานั้นปริมาณการใช้บริโภคปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตขยายตัวเพิ่มขึ้นมากและไม่ว่าจะผลิตมากแค่ไหนก็ไม่สามารถผลิตได้ทัน และนำไปสู่การนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องเพิ่มการผลิตแอมโมเนียมซัลเฟตภายในประเทศที่ราคาถูกเพื่อต่อต้านแอมโมเนียมซัลเฟตที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ Noguchi ไม่สามารถหยุดอยู่เพียงแค่การขยายโรงงานเฉพาะที่ Nobeoka เท่านั้น และเขาจึงคิดที่จะสร้างโรงงานแอมโมเนียมซัลเฟตที่มีขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้นไปอีก โดยมีจุดประสงค์คือความจำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าราคาถูกและในปริมาณที่มากมายมหาศาล
เขาได้ค้นหาแหล่งทรัพยากรที่สามารถนำมาพัฒนาได้ในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ของญี่ปุ่นมาระยะหนึ่งแล้ว และยังวางแผนการพัฒนาเกาะ Yakushima และทำการสำรวจภาคสนามด้วยตนเอง แต่เนื่องจากไม่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่ต้องการจึงไม่ได้สานต่อให้เป็นรูปเป็นร่าง ซึ่งโครงการที่ตอบโจทย์ดังกล่าวก็คือโครงการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าไปยังคาบสมุทรเกาหลี

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำ Pujon
หากทำให้แม่น้ำไหลย้อนกลับได้

ภูมิประเทศของคาบสมุทรเกาหลีมีแนวเทือกเขา Changbai ที่ทอดเป็นแนวยาวไปตามชายฝั่งตะวันออกของคาบสมุทร และเทือกเขาฝั่งทะเลญี่ปุ่นทางเกาหลีเหนือก็ทับซ้อนกันเหมือนเป็นกำแพงขนาดใหญ่ที่กั้นไว้อยู่ ในทางกลับกันทางด้านทิศตะวันตกมีพื้นที่ที่ราบสูงรวมกันเป็นบริเวณกว้างและแม่น้ำที่มาจากเทือกเขา Changbai ส่วนใหญ่จะไหลไปทางทิศตะวันตกไปความลาดชันที่นุ่มนวลและไหลลงสู่ทะเลเหลือง
แม่น้ำแต่ละสายมีอัตราการไหลที่แตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว ละในฤดูหนาวจะแห้งแล้งมาก จากที่ว่ามานี้โดยรวมทั่วไปแล้วไม่เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งกำเนิดของการพัฒนากระแสไฟฟ้าพลังงานน้ำ

แต่ หากสำรวจดูบนแผนที่แล้วก็ยังไม่ถึงกับต้องสิ้นหวังเสมอไป “ใช่แล้ว! ปิดกั้นแม่น้ำ 3 สายของแม่น้ำ Amrok แล้วขุดอุโมงค์ให้น้ำไหลย้อนกลับไปยังฝั่งทะเลญี่ปุ่นได้” หากใช้ทางน้ำตกสูงหลายพันเมตรก็จะสามารถสร้างโรงไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ได้

ด้วยเหตุนี้จึงมองมาที่แม่น้ำ Changjin กับ แม่น้ำ Pujon ซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำ Amrok แควของแม่น้ำ Yarlung แม่น้ำ Pujon และแม่น้ำ Changjin
สมัยโบราณกาลนานมาแล้ว เกาหลีใต้ได้ให้คำสัตย์สัญญาต่อราชวงศ์ชิงไว้ว่า “แม้ว่าน้ำในแม่น้ำ Amrok จะไหลย้อนกลับ แต่การส่งบรรณาการนี้จะไม่มีวันสิ้นสุด” ใครเล่าจะคาดเดาได้ว่าน้ำจากแม่น้ำ Amrok จะไหลย้อนกลับลงสู่ฝั่งทะเลญี่ปุ่นได้

“ถ้าน้ำในแม่น้ำไหลย้อนกลับได้ ก็จะสร้างกระแสไฟฟ้าได้” จึงได้เกิดเรื่องที่ท้าทายในการทำธุรกิจขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นจากความคิดที่แปลกประหลาดสุดโต่งซึ่งไม่มีใครคาดฝัน
เมื่อได้ลงมือวางแผนแล้ว Noguchi ปกติแล้วจะไม่หยุดอยู่แค่แพลนที่วางไว้บนโต๊ะ แม้ในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศและดินที่ไม่ดี ก็ยังออกนำทีมออกสำรวจพื้นที่อย่างละเอียดลออจนกว่าจะพอใจ ครั้งนี้ก็เช่นกัน เขาเริ่มทำการสำรวจบนแผนที่ก่อน เมื่อพบว่ามีความเป็นไปจึงจะออกไปสำรวจพื้นที่จริง และได้ผลที่บอกได้อย่างแน่ชัดว่ามีอนาคตดีมาก

จากตรงนี้ เราได้เห็นถึงความสามารถในการทำงานอย่างไม่ย่อท้อ หลักของเหตุและผล การปฏิบัติจริงและการพิสูจน์ Noguchi ซึงเป็นแนวทางวิทยาศาสตร์ของเขาจากการวางแผนธุรกิจของเขาทีละขั้นทีละตอนจากนั้นจึงมุ่งสู่การดำเนินงานต่อไป

ในปี ค. ศ. 1926 เพื่อผลักดันการดำเนินธุรกิจนี้ต่อไปเขาได้ก่อตั้งบริษัทด้วยเงินทุน 20 ล้านเยน
รายละเอียดของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำ Pujon ประกอบไปด้วยการปิดกั้นพื้นที่ทั้งหมด การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีขนาดเส้นรอบวง 78 กิโลเมตร การขุดอุโมงค์ขนาดใหญ่ที่มีความยาว 28 กิโลเมตรในผ่านทางน้ำที่ในภูเขาเพื่อให้น้ำไหลย้อนกลับไปทางทิศตะวันออกและไหลลงสู่ทะเลญี่ปุ่น การวางท่อเหล็กแรงดันน้ำ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำมากกว่า 800 กว่าแห่งที่มีทางน้ำตกสูงถึง 1,000 เมตร การสร้างระบบขนส่ง incline railway ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้น 55 ล้านเยนซึ่งนับเป็นงานก่อสร้างที่ใหญ่ที่สุดในตะวันออกในเวลานั้น
ด้วยวิธีนี้การก่อสร้างที่มีจุดเริ่มต้นจากความคิดอันน่ามหัศจรรย์นี้ได้จึงเสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ.1930 และประสบความสำเร็จในการผลิตกระแสไฟฟ้า 200,000 กิโลวัตต์

  • เขื่อนแม่น้ำ Pujon

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับการขุดอุโมงค์ทะลุทางน้ำในภูเขาว่า บริษัทวิศวกรรมโยธาที่รับงานขุดเจาะอุโมงค์ใหญ่นี้ ดูเหมือนจะได้รับค่าจ้างตามสัญญาที่ต่ำ และค่าก่อสร้างที่แท้จริงก็สูงเกินกว่านั้นมาก เรื่องบริษัทวิศวกรรมโยธาที่รับเหมางานต้องจ่ายเงินมากเกินจนขาดทุนนี้ Noguchi ถือว่านี่เป็นความรับผิดชอบของเขาและได้จ่ายเงินเพิ่มเติมให้บริษัทดังกล่าว

หากจะกล่าวถึงสิ่งที่นำไปสู่การประสบความสำเร็จของโครงการยักษ์ใหญ่ระดับโลกเช่นนี้ เราก็ไม่อาจมองข้ามสิ่งที่อยู่เบื้องหลัง คือ ความเป็นมนุษย์ของ Noguchi และความห่วงหาอาทรที่มีต่อกันและกันของบรรดาผู้คนที่สนับสนุนโครงการนี้

  • โรงไฟฟ้าแม่น้ำ Pujon

การก่อสร้างโรงงาน Hungnam
เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเคมีที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก

การประสบความสำเร็จ สามารถทำให้น้ำ Pujon ไหลย้อนกลับและผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 200,000 กิโลวัตต์ตามที่ตั้งใจไว้ได้ แต่เกิดปัญหาอย่างหนึ่งซึ่งก็คือ เราจะนำพลังงานไฟฟ้าที่อุตส่าห์หามาได้อย่างยากลำบากนี้ไปใช้ทำอะไร
เนื่องจากเป็นพื้นที่ในภูเขาของเกาหลีเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ห่างไกลทุรกันดาร อีกทั้งยังมีภูเขาหลายลูกก็ทับซ้อนกันอีก ดังนั้นหากคุณก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่หลายแสนกิโลวัตต์ที่นี่ แล้วไม่มีโรงงานที่จะใช้พลังงานนี้ก็นับว่าเป็นการสิ้นเปลืองทั้งเงินทุนและแรงงาน และก็ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ขึ้นมาเลยแม้แต่น้อย

จากโรงไฟฟ้าที่จะส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าไปสถานที่ตั้งของโรงงาน จะต้องอยู่ไม่ห่างไกลกันจนเกินไป และยังต้องเป็นพื้นที่ที่สามารถนำไปพัฒนาใช้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมโรงงานที่ใช้พลังงานไฟฟ้านี้ได้ ก่อนที่จะเริ่มต้นธุรกิจนี้ Noguchi ได้พิจารณาไตร่ตรองเรื่องเหล่านี้ไว้แล้วอย่างครบถ้วน และได้วางแผนที่จะดำเนินการตามแผนพัฒนา Pujon ไว้ก่อนแล้ว ซึ่งที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ว่านี้ก็คือโรงงาน Hungnam นั่นเอง ในการดำเนินธุรกิจ Noguchi มีความความฉลาดหลักแหลม เข้าใจและมองการณ์ไกลอย่างทะลุปรุโปร่งรอบด้าน
สภาพของ Hungnam ก่อนโครงการพัฒนาเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงที่เงียบเหงา มีบ้านเรือน 20 - 30 หลังคาเรือนกระจายอยู่โดยรอบ แต่ภายในเวลาไม่ถึง 10 กว่าปีที่ผ่านมาได้ก้าวกระโดดขึ้นเป็นเมืองอุตสาหกรรมเคมีที่ใหญ่ระดับโลก

ในปี ค. ศ. 1927 Noguchi ได้ก่อตั้งบริษัทปุ๋ยที่ Hungnam ด้วยเงินทุน 10 ล้านเยนและเริ่มก่อสร้างโรงงาน Hungnam เพื่อทำอุตสาหกรรมผลิตปุ๋ย และอุตสาหกรรมเคมีอื่น ๆ
มีการก่อสร้างและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ได้ก่อสร้างโรงงานไว้มากมาย เช่น โรงงานผลิตปุ๋ยขนาดใหญ่ของโลก โรงงานยา ไขมันและน้ำมัน แมกนีเซียม สังกะสี คาร์ไบด์ อัญมณีสังเคราะห์ คาร์บอน วัตถุระเบิด เชื้อเพลิงการบิน ยางเทียม ฯลฯ นอกจากนี้ทางรถไฟ ท่าเรือ ตลอดจนสิ่งปลูกสร้างอำนวยความสะดวกอื่น ๆ ก็เติบโตขึ้นตามมาอย่างพร้อมสรรพ เกิดเป็นพื้นที่โรงงานและที่อยู่อาศัยรวม 1,700 เฮกเตอร์ และเติบโตกลายมาเป็นเมืองที่มีประชากรทั้งหมด 180,000 คน โดยเป็นพนักงานที่ทำงานในโรงงานทั้งสิ้น 47,000 คน

ในเมืองยังพร้อมสรรพไปด้วยสิ่งอำนวยวามสะดวกต่าง ๆ เช่น โรงงานสร้างอิฐโกดังและสำนักงาน ตลอดจนที่อยู่อาศัยสำหรับรองรับพนักงานจำนวนมาก สถานบันเทิง สถานที่ออกกำลังกาย โรงพยาบาล โรงเรียน ที่ทำการไปรษณีย์ สถานที่ราชการ อาคารประชุม สถานีตำรวจ ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้นสิ่งที่น่าแปลกใจอย่างยิ่งก็คือสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมดเหล่านี้ในเวลานั้นสร้างจากจากอิฐ มีโถส้วมชนิดที่ใช้ระบบน้ำตอนทำความสะอาดสิ่งปฏิกูล มีเครื่องไฟฟ้าแบบเต็มรูปแบบ และติดตั้งเครื่องทำความร้อนด้วยไอน้ำสำหรับใช้งานในช่วงฤดูหนาว

  • โรงงาน Hungnam

เมื่อได้ลองรวบรวมหาเอกสารต่าง ๆ เพื่อดูว่ามีโรงงานใดในโลกที่ทัดเทียมกับโรงงานนี้หรือไม่ ตามที่กล่าวไว้ในแง่ของขนาดมันเป็นโรงงานเคมีแห่งที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในโลกรองจากโรงงาน Oppau ของบริษัท AEG AG ในประเทศเยอรมนี ในยุคเดียวกันและไม่มีที่ใดในสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส หรือสหรัฐอเมริกาที่จะเหนือหรืออลังการกว่าโรงงาน Hungnam

ถ้าจะเทียบโรงงาน Hungnam กับโรงงานในญี่ปุ่นก็คงจะเทียบได้กับกลุ่มโรงงาน Omuta หรือกลุ่มโรงงาน Niihama แต่ทั้งสองนี้ก็เป็นสิ่งที่ก่อสร้างขึ้นโดยกลุ่มโดยกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ในญี่ปุ่น หรือ Zaibatsu ซึ่งใช้เวลาในการสร้างขึ้นด้วยระยะเวลาเป็นสิบ ๆ ปี
แตกต่างจาก Noguchi ที่สร้างกิจการขนาดใหญ่ซึ่งเป็นความมหัศจรรย์ของโลกนี้ให้เกิดขึ้นภายในระยะเวลาอันสั้นเพียงตัวคนเดียว โดยแทบจะไม่มีมีรัฐบาลคอยให้ความช่วยเหลือหรือมีกลุ่ม Zaibatsu หนุนอยู่เบื้องหลัง

ธุรกิจของ Noguchi มีการพัฒนาโรงไฟฟ้าและพัฒนาโรงงานควบคู่ไปด้วยกัน เมื่อสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมา ต่อมาก็จะมีการสร้างโรงงานเพื่อใช้พลังงานนั้น เมื่อโรงงานพัฒนาและพลังงานไฟฟ้าหมดไปอีกครั้ง ก็มองหาแหล่งพลังงานใหม่ สายตาของเขามักจะเพ่งเล็งไปที่ผืนดิน สาขาที่ยังไม่มีผู้ใดบุกเบิกพัฒนาอยู่เสมอ ๆ เมื่อเกิดอุปสรรคและความยากลำบากขึ้นระหว่างกระบวนการที่ทำอยู่ ก็ยิ่งดิ้นรนต่อสู้มากยิ่งขึ้นจนนำไปสู่การขยายตัวไปยังต่างประเทศในที่สุด เราได้เห็นแผนพัฒนา Pujon และสภาพการก่อสร้างโรงงาน Hungnam กันแล้ว อะไรกันเล่าที่นำให้กิจการเหล่านี้ก้าวไปสู่ความสำเร็จได้

ก่อนอื่นจะขอกล่าวถึงเรื่อง “จิตใจที่กล้าแกร่งกับความกระตือรือร้น” ที่ Noguchi มีต่อธุรกิจของเขา ซึ่งเป็นความท้าทายและความกระตือรือร้นที่จะบุกเบิกพัฒนาดินแดนที่ยังไม่มีใครเข้าถึง ซึ่งสัมผัสได้ถึงความบริสุทธิ์สะอาดของจิตใจ

  • หอพักของบริษัท
  • โรงพยาบาล
  • โรงเรียนมัธยมสตรีล้วน

บุคคลที่มีความใกล้ชิดกับ Noguchi ได้กล่าวว่า “การกระทำของ Noguchi ใสสะอาดโดยไม่มีกลิ่นอายของลัทธิล่าอาณานิคมเหมือนในช่วงสงคราม เพราะเป็นแรงบันดาลที่เกิดจากจิตวิญญาณแห่งการบุกเบิกที่บริสุทธิ์”
Noguchi แห่งยุค Hungnam กล่าวกับตัวเองเป็นคำพูดติดปากบ่อย ๆ ว่า “หากสามารถจัดหาปุ๋ยที่ดีที่ราคาถูกได้ พืชผลจะอุดมสมบูรณ์ ชีวิตของเกษตรกรเกาหลีจะมั่นคง และจะนำไปสู่การส่งเสริมการค้าและอุตสาหกรรม”

ในปีต่อมา Noguchi ย้ายสำมะโนครัวจากญี่ปุ่นไป Hungnam และกำหนดให้ที่นี่เป็นที่จุดจบแห่งชีวิตของเขา
เรื่องราวต่อไปนี้อาจจะช่วยให้เข้าใจบุคลิกนิสัยของ Noguchi ในยุค Hungnam ได้ดียิ่งขึ้น สิ่งนี้ที่เขียนขึ้นโดยพนักงานที่ทำงานอยู่ที่โรงงาน Hungnam ในเวลานั้น
“ประมาณปี ค.ศ. 1939 ช่วงต้นฤดูร้อน ตอนนั้นผมทำงานอยู่ที่โรงงานในเกาหลี และผมไปโตเกียวและโอซากา ประมาณ 2 - 3 ครั้งต่อปี พอทำธุระของบริษัทเสร็จก็จะกลับเกาหลี ตอนที่ผมจะไปห้องผู้บริหารเพื่อกล่าวคำลา ผู้จัดการฝ่ายกิจการทั่วไปเรียกผมแล้วพูดว่า “วันนี้คุณ Noguchi จะไปเกาหลี แต่ไม่มีใครสะดวกที่จะคอยช่วยดูแลถือกระเป๋าให้ คุณช่วยทำได้แทนให้หน่อยได้ไหม” ผมซึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ในการคอยดูแลบุคคลระดับ VIP อย่างคุณโนะกุจิมาก่อน รู้สึกว่าเป็นเรื่องยิ่งใหญ่มาก งงจนทำอะไรไม่ถูก และคงเก็บซ่อนเร้นความรูสึกนี้ไว้ไม่ได้ แต่ยังไม่ได้ทันที่ผมได้กล่าวจะตอบอะไร ผู้จัดการฝ่ายกิจการทั่วไปก็พูดขึ้นมาว่า ผมจะบอกกับคุณโนะกุจิให้นะว่า “คุณชิมามูระจะกลับเกาหลีวันนี้พอดี” ผมจึงต้องจำเป็นต้องรับปากไปโดยปริยาย

ในวันนั้น ผมขึ้นรถไฟด่วนตอนเวลา 10 โมงเช้าและร่วมเดินทางไปพร้อมกับคุณโนะกุจิโดยนั่งกันคนละส่วน คุณโนะกุจินั่งที่นั่งชมทิวทัศน์ชั้น 1 ส่วนผมนั่งที่นั่งชั้น 2 ซึ่งอยู่ไม่ห่างกันนัก ดีแล้วที่นั่งกันคนละชั้น ผมก็ไม่ต้องนั่งแบบตัวลีบเพื่อนพูดคุยกับคุณโนะกุจิ พอขึ้นรถไฟแล้วก็ไม่มีอะไรต้องทำ และอาจเพราะเหน็ดเหนื่อยมากจากการทำงานหลายวันติดกันและต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในเมืองใหญ่ ผมหลับอย่างสนิทโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งคาดว่าคงหลับไปเป็นเวลานานมากทีเดียว พอผมตื่นขึ้นพบว่ามีหนังสือพิมพ์และนิตยสารก็กองอยู่บนหน้าอกของผม ก็รู้ได้ว่าเป็นหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่คุณโนะกุจิอ่านแล้วถือเอามาวางไว้เพื่อให้ผมได้อ่านบ้าง พอนึกได้ก็ทำอะไรแทบไม่ถูก สักพักคุณโนะกุจิก็เข้ามาและยื่นไอศกรีมที่ซื้อที่สถานีที่เพิ่งถึงเมื่อกี้ให้และพูดกับผมว่า “ท่าทางคุณจะเหนื่อยนะ นอนหลับสบาย” แล้วก็ยิ้มให้และเดินกลับไปยังที่นั่ง ผมรู้สึกซาบซึ้งและเกรงใจอย่างสุดซึ้งสำหรับความเมตตาที่มีให้ผมทั้ง ๆ ที่ผมอยู่ในฐานะผู้ที่ต้องดูแลคุณโนะกุจิ ตอนนี้ผมได้พบเจอสิ่งที่อบอุ่นและสวยงามที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนในตัวคุณโนะกุจิที่ผมเคยเห็นและได้ยินได้ฟังมาว่าน่ากลัว มีเรื่องเล่าว่าเขาเป็นประธานที่คิดและตัดสินใจอะไรเองคนเดียว อารมณ์เสียง่าย ลูกน้องมักจะถูกดุอยู่บ่อย ๆ
แต่เรื่องที่เล่าข้างต้นนี้ก็เป็นเรื่องราวที่แสดงให้เห็นอีกด้านหนึ่งของคุณโนะกุจิที่เป็นปุถุชนทั่วไปที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตาและเอาใจใส่ต่อวิศวกรที่ตนได้สร้างและอบรมสั่งสอนมา

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำ Changjin
สถิติโลกด้านวิศวกรรมโยธา

แม่น้ำ Changjin เป็นแม่น้ำสาขาของแม่น้ำ Amrok ซึ่งไหลไปทางทิศเหนือขนานไปกับจุดที่อยู่ห่างออกไปหลายสิบกิโลเมตรทางใต้ของแม่น้ำ Pujon มีต้นกำเนิดจาก Hwangch'oryŏng ซึ่งอยู่ห่างจาก Pujonryŏng ประมาณ 50 กิโลเมตร และค่อย ๆ ไหลไปทางเหนือผ่านแนวที่ราบสูงที่อยู่ 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเล และไหลเข้าสู่หุบเขาไปประมาณ 40 กิโลเมตร ตามแผนพัฒนาจะการสร้างเขื่อนขึ้นในจุดนี้เพื่อปิดกั้นการไหลนำน้ำไปสู่อุโมงค์และปล่อยให้น้ำไหลย้อนกลับและปล่อยลงที่ฝั่งทะเลญี่ปุ่นเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าประมาณ 330,000 กิโลวัตต์

Noguchi มุ่งความสนใจไปที่แม่น้ำ Changjin เนื่องจากเกิดภัยแล้งอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 ปี ในลุ่มน้ำ Pujon ที่ได้พัฒนาไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งทำให้เขาต้องกังวลใจอย่างหนักกับปัญหาการขาดแคลนพลังงานเนื่องจากไม่ได้รับพลังงานไฟฟ้าตามที่คาดหวังไว้ นอกจากนี้จากอิทธิพลของการยกเลิกมาตรการห้ามการส่งออกทองคำส่งผลให้ราคาปุ๋ยตกต่ำมาก ทำให้บริษัทได้รับความเสียหายมาก ดังนั้นจึงต้องการใช้ไฟฟ้าในจำนวนมากขึ้นในการขยายอุตสาหกรรมไฟฟ้าเคมีที่โรงงาน Hungnam ต่อจากนี้ไป

  • เขื่อนกั้นแม่น้ำ Changjin

Noguchi พูดอยู่เสมอว่า “คุณต้องทำงานเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีทุกคนใช้จ่ายเงินเมื่อเศรษฐกิจดีและของแพง แต่เมื่อเศรษฐกิจไม่ดีค่ารับเหมาก็ถูก” อาจกล่าวได้ว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงหลังสร้างโรงงาน Pujon และ โรงงาน Hungnam เสร็จยิ่งกลับกระตุ้นให้เขาอยากทำธุรกิจมากยิ่งขึ้นอีก

การก่อสร้างเริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1933 การสร้างบนแม่น้ำ Changjin เป็นงานวิศวกรรมโยธาขนาดใหญ่ที่เหนือกว่าการก่อสร้างบนแม่น้ำ Pujon มีความสูง 616 เมตรสูง 38 เมตร ใช้ปูนซีเมนต์ 3 ล้านกระสอบในการก่อสร้าง การก่อสร้างเขื่อนนี้เป็นการก่อสร้างที่ยากลำบากที่ประกอบด้วยการก่อสร้างอุโมงค์ที่มีความยาว 24 กิโลเมตร ซึ่งเกินกว่า 3 เท่าของอุโมงค์ Tanna มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4.5 เมตรลึกลงใต้ดิน 40 ถึง 70 เมตร อย่างไรก็ตามก่อสร้างนี้เสร็จสมบูรณ์ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพียงแค่ 2 ปี เป็นการสร้างสถิติใหม่ในโลกของวิศวกรรมโยธาให้แก่โลกนี้

  • ทางท่อเหล็ก

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำ Amrok และเขื่อน Sup'ung
สิ่งมหัศจรรย์ของโลก

Noguchi ผู้ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาลุ่มน้ำ เช่น Pujon และสร้างเมืองอุตสาหกรรมเคมีใน Hungnam ที่มีประชากร 180,000 คน ในที่สุดก็ก้าวเข้าสู่ยุคทองของชีวิตในฐานะนักธุรกิจ กล่าวได้ว่ามีธุรกิจขนาดใหญ่ที่เกิดจากความสามารถและและความสามารถในการจัดการของ Noguchi สิ่งนั้นคือการพัฒนาลุ่มน้ำ Amrok ซึ่งผ่านพรมแดนระหว่างเกาหลีและแมนจูเรีย (ในสาธารณรัฐประชาชนจีน)

ลุ่มน้ำแม่น้ำ Amrok เป็นแม่น้ำที่สมบูรณ์ ไหลเป็นบริเวณกว้าง 60,000 ตารางกิโลเมตรกว้างใหญ่กว่าพื้นที่คิวชูมาก และมีปริมาณน้ำเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นถึง 4-5 เท่า
แม้จะคาดการพัฒนาลุ่มน้ำ Amrok ซึ่งเป็นแม่น้ำนานาชาติทำได้ยากมาก แต่ผมก็ตัดสินใจที่จะทำการสำรวจภาคสนามอยู่ดี หากจะสร้างเขื่อนก็สามารถสร้างได้ทุกที่บนแนวน้ำ และเนื่องจากมีปริมาณน้ำ คาดว่าอาจผลิตไฟฟ้าได้อย่างน้อย 2,000,000 กิโลวัตต์โดยประมาณ ซึ่งมีความเป็นไปได้ในอนาคตสูงมาก
แผนพัฒนาคือโครงการที่จะผลิตไฟฟ้าจำนวนมหาศาลที่มีกำลังการผลิตรวม 2,000,000 กิโลวัตต์โดยการสร้างเขื่อน 7 แห่งในระยะทางประมาณ 500 กิโลเมตรจากบริเวณที่สูงจากระดับน้ำทะเล 500 เมตรถึงใกล้ระดับน้ำทะเลโดยเก็บกักน้ำจากแม่น้ำ Amrok อย่างต่อเนื่อง

มีคำถามว่าจะสร้างเขื่อนใดก่อนจากเขื่อนทั้งหมด 7 แห่ง เขื่อนที่จะเริ่มก่อสร้างก่อนคือ Sup'ung ก่อน
เขื่อน Sup'ung Dam ตั้งอยู่ห่างจากปากแม่น้ำจากไป 120 กิโลเมตรและ อยู่บนต้นน้ำที่ห่าง จาก Sinuiju และ Dandong (Dandong) ไปประมาณ 80 กิโลเมตร และตั้งอยู่ตรงกลางโดยที่ฝั่งหนึ่งของเขื่อนตั้งอยู่ติดกับบนฝั่งเกาหลี (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี) และอีกฝากหนึ่งของเขื่อนตั้งอยู่บนฝั่งแมนจูเรีย (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ความกว้าง 900 เมตร ความสูง 170 เมตรและพื้นที่อ่างเก็บน้ำ 345 ตารางกิโลเมตร มีขนาดครึ่งหนึ่งของทะเลสาบบิวาโกะ หรือเป็นสองเท่าของทะเลสาบคาซึมิกาอุระ ทำให้ที่นี่เป็นทะเลสาบเทียมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจาก Boulder Dam ในอเมริกาเหนือ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 100,000 กิโลวัตต์ที่ติดตั้งภายในโรงไฟฟ้าเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก

มีผู้ที่เคยไปเยี่ยมชมเขื่อนในขณะที่กำลังก่อสร้างอยู่กล่าวไว้ว่า “มันเป็นช่วงต้นปี ค.ศ. 1941 ที่ได้ไปเยี่ยมชมเขื่อน Sup'ung ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนั้น ในเวลานั้นการก่อสร้างระยะที่สองได้เสร็จสิ้นไปแล้ว อีกไม่นานก็จะผลิตกระแสไฟฟ้า ผมรู้สึกประทับใจมาก ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขนาด เครื่องมืออุปกรณ์เครื่องมือ ผิดแผกแตกต่างไปจากญี่ปุ่นเรามาก ทั้งเรื่องขนาดและเครื่องมืออุปกรณ์ราวกับว่าเป็นโครงการขนาดใหญ่ยักษ์ระดับโลก ในฐานะคนญี่ปุ่นผมขอเคารพต่อความเยี่ยมยอดทางด้านสายตาอันกว้างไกล ความสามารถในการดำเนินงาน ความอาจหาญและความยิ่งใหญ่ตระการตาของ Noguchi ที่ได้จัดทำโครงการธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกที่ทำให้เรารู้สึกภาคภูมิใจ”

เขื่อน Sup'ung ได้จึงสร้างเสร็จสมบูรณ์และประสบความสำเร็จในการได้มาซึ่งไฟฟ้าที่ราคาถูกที่อุดมสมบูรณ์ แต่น้ำจากแม่น้ำ Amrok ไม่ใช่ตกลงมาเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างเดียวเท่านั้น มีการถมที่บริเวณปลายน้ำให้เป็นพื้นที่นาขนาด 10,000 กว่าเฮกเตอร์ และน้ำที่ไหลออกมาจากโรงไฟฟ้าก็ถูกนำไปใช้เป็นน้ำสำหรับใช้งานในโรงงาน Hungnam และยังมีการเลี้ยงปลาน้ำจืดในอ่างเก็บน้ำ และเลี้ยงปศุสัตว์และสุกรบริเวณพื้นที่ราบสูงรอบอ่างเก็บน้ำด้วย
นอกจากนี้ย้งได้มีการนำป่าไม้ที่ถูกละเลยเพิกเฉยเนื่องจากความไม่สะดวกในการขนส่งไปพัฒนาและแปรรูปเพื่อใช้ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำผ่านการระบบขนส่ง Incline Railway

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำ Tennessee (TVA หรือ Tennessee Valley Authority Development) ได้จัดทำขึ้นสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1933 ตามนโยบายข้อตกลงใหม่ของประธานาธิบดีรูสเวลต์ในเวลานั้น แต่ทางญี่ปุ่นเราได้เริ่มการพัฒนาลุ่มน้ำสไตล์ญี่ปุ่นในเกาหลีตั้งแต่ปี ค.ศ. 1924 ก่อนหน้าบริษัท TVA ของสหรัฐอเมริกาหลายปีอยู่

ซึ่งก็คือการพัฒนาแนวพื้นที่ลุ่มน้ำบริเวณเขื่อน Sup'ung และสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่อุตสาหกรรมเคมีขนาดใหญ่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่โรงงาน Hungnam หลังจากสิ้นสุดสงครามเกาหลีสื่อมวลชนของสหรัฐอเมริกาได้รายงานต่อทั่วโลกว่า “โครงการที่เทียบได้กับสิ่งกับมหัศจรรย์ของโลกนี้ ได้ถูกสร้างขึ้นมาโดยกลุ่มของนักธุรกิจที่ชื่อ Shitagau Noguchi”

  • เขื่อน Sup'ung